วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2550

Diary

วิชาคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา
หน่วยเรียนรู้ที่ 1
วัตถุประสงค์ของการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา
เมื่อเสนอกระบวนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนนี้แล้ว ผู้ศึกษาสามารถ
-อธิบายความหมายและความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ได้
-ระบุชนิดและประเภทขอคอมพิวเตอร์ได้
-อธิบายการทำงานและองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ได้
-อธิบายการใช้คอมพิวเตอร์ในการศึกษาได้
.
ความหมายของคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา
คอมพิวเตอร์ คือ เครื่องประมวลผลที่จัดให้ข้อมูลดิบอยู่ในรูปแบบที่สื่อความหมายเหมาะกับการนำไปใช้ในลักษณะต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี มีหน่วยความจำที่สามารถจำข้อมูลได้จำนวนมาก สามารถคำนวณเปรียบเทียบข้อมูลที่มีความยุ่งยากซับซ้อนได้ ในเวลาเพียงเศษส่วนของวินาที.....
.
ความเป็นมาของคอมพิวเตอร์
แบ่งออกเป็น 5 ยุค ด้วยกันได้แก่
ยุคแรก....เริ่มในช่วง ค.ศ. 1652 ยุคนี้ใช้หลอดสูญญากาศ มีขนาดใหญ่ และราคาแพง
ยุคที่ 2 ....ระหว่าง ค.ศ. 1959-1964 มีการนำทรานซิสเตอร์ (Fortran)์ เพื่อใช้สร้างโปรแกรมสำหรับใช้ในมาใช้ทำให้เครื่องมีขนาดเล็กลง มีการคิดค้นภาษาฟอร์แทน เครื่องคอมพิวเตอร์
ยุคที่ 3 ....ระหว่าง ค.ศ. 1965-1969 มีการประดิษฐ์คิดค้น Integrated Circuit หรือ IC ทำให้ส่วนประกอบต่างของวงจรต่าง ๆ วางลงบนแผ่นชิป (Chip) เล็ก ๆ ได้นำมาใช้แทนทรานซิสเตอร์ทำให้เนื้อที่วงจรประหยัดเนื้อที่
ยุคที่ 4 ....ระหว่าง ค.ศ. 1970-1980 เป็นยุคที่นำสารกึ่งตัวนำ LST (Large Scale Integrated) มาใช้ ทำให้สามารถย่อ IC เข้ามาอยู่ในวงจรเดียวกัน ยุคนี้ได้มีการประดิษซ์เครื่อง Microprocessor ขึ้น และเริ่มเรียกคอมพิวเตอร์ว่า ไมโครคอมพิวเตอร์ เนื่องจากมีขนาดเล็กและราคาไม่แพง และมีความสามารถสูง ทำงานได้รวดเร็ว
ยุคที่ 5 ....ค.ศ. 1980-ปัจจุบัน มีการประดิษฐ์คอมพิวเตอร์ให้สามารถเข้าใจภาษามนุษย์ในรูปแบบปัญญาประดิษฐ์และผู้เชี่ยวชาญ เพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ
.
ประเภทของคอมพิวเตอร์
แบ่งได้ 3 ประเภท คือ
1. แอนะล็อกคอมพิวเตอร์ (Analog Computer)
2. ดิจิตอลคอมพิวเตอร์ (Digital Computer)
3. ไฮบริดคอมพิวเตอร์ (Hybrid Computer)
.
การทำงานของคอมพิวเตอร์
ลักษณะการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยหน่วย (Units) ที่ทำหน้าที่ต่างกัน 4 หน่วย คือ
1. หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) เป็นตัวกลางในการรับข้อมูลผ่านอุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ เช่น แป้นพิมพ์ และสแกนเนอร์
2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)ควบคุมการทำงานทั้งหมดของเครื่อง
3. หน่วยความจำ (Memory) เป็นส่วนที่ใช้เก็บข้อมูลต่าง ๆ เครื่องไว้ ซึ่งมี 2 ชนิดคือ
3.1 ROM (Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำหลักที่ทำหน้าที่อ่านข้อมูลเพียงอย่างเดียว
3.2 RAM (Random Access Memory) เป็นหน่วยความจำรองที่ทำหน้าที่ในการบันทึกข้อมูลไว้ชั่วคราว
4. หน่วยแสดงผล (Output) เป็นการนำผลลัพธ์แสดงออกมาโดยผ่านอุปกรณ์แสดงผล เช่น เครื่องพิมพ์ หรือจอภาพ เป็นต้น
.
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง เครื่องมือต่าง ๆ ที่สร้างหรือออกแบบมาเพื่อใช้ดำเนินการตามกรรมวิธีของคอมพิวเตอร์ ได้แก่ เครื่องเตรียมข้อมูล เช่น เครื่องเจาะบัตร
2. ซอฟแวร์ (Software) คือ ชุดของคำสั่งที่สร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้งานคอมพิวเตอร์
3. บุคลากร (Peopleware) หมายถึง ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ หรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์
.
คอมพิวเตอร์เพื่อการศีกษา
(Computer Education) หมายถึง การศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับศาสตร์ด้านคอมพิวเตอร์ เช่น การเขียนภาษาโปรแกรมต่าง ๆ การผลิต การใช้ การบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ (Hardware) และซอฟแวร์ (Software) รวมถึงการศึกษาวิธีการใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อกิจการด้านต่าง ๆ สรุปแล้วการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา คือ การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในกิจการด้านการศึกษา ประกอบด้วยงานหลัก 4 ระบบ
1. คอมพิวเตอร์เพื่อบริหารการศึกษา (Computer for Education Administration)
2. คอมพิวเตอร์เพื่อบริการการศึกษา (Computer for Education Service)
3. คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน (Computer Assisted Instruction)
4. การรู้คอมพิวเตอร์ (Computer Literacy)
..................................................................................
.
หน่วยเรียนรู้ที่ 2
บทบาทคอมพิวเตอร์ที่มีต่อการศึกษา
1. งานบริหาร (Administrative Application) ได้แก่ งานการเงิน บัญชี พัสดุ ทะเบียน และสารบรรณ
2. งานหลักสูตร (Curriculum Application) ได้แก่ ผลการเรียน อัตราส่วนระหว่างผู้เรียนต่อครู
3. งานห้องสมุด (Library Application) ได้แก่ การค้นหนังสือแทนการใช้บัตรรายการ เป็นต้น
4. งานพัฒนาวิชาชีพ (Professional development Application) คือ การให้ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์แก่ครู เพื่อนำมาปรับปรุงการเรียนการสอน
5. งานวิจัย (Research application)ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการเก็บผลการวิเคราะห์
6. งานแนะแนวและบริการพิเศษ (Guidance and Special Service Application) ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการเก็บรายงานผลการเรียน และพฤติกรรมผู้เรียน เป็นต้น
7. งานทดสอบ (Testing Application) ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างข้อสอบ วิเคราะห์และประเมินผลการเรียน
8. สื่อการสอน (Instructional Aids Application) ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อ
9.คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer-Assisted Instruction) ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ในการสอน การฝึกหัด การแก้ปัญหาโจทย์วิชาต่าง ๆ เป็นต้น
.
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึง การนำคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนการสอน โดยที่เนื้อหาวิชา แบบฝึกหัด และแบบทดสอบจะถูกพัฒนาขึ้นในรูปของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ช่วยสอน คือ .....
.
ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์
1. ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
เชื่อว่า มนุษย์และการเรียนรู้ของมนุษย์เป็นสิ่งที่สามารถสังเกตได้จากพฤติกรรมภายนอกโครงสร้างบทเรียนในลักษณะเชิงเส้นตรง (Linear) โดยผู้เรียนทุกคนจะได้รับการเสนอเนื้อหาในลำดับที่เหมือนกันและตายตัว
2. ทฤษฎีปัญญานิยม (Cognitivism)
พฤติกรรมมนุษย์เป็นเรื่องของจิตใจ ทำให้เกิดแนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบในลักษณะสาขา (Branching) ของคราวเดอร์ (Crowder)
3. ทฤษฎีโครงสร้างความรู้ (Schema Thory)
โครงสร้างภายในของมนุษย์จะมีลักษณะเป็นเหมือนโหนดหรือกลุ่มที่มีการเชื่อมโยงกันอยู่ มนุษย์จะนำความรู้ใหม่ ๆ ไปเชื่อมโยงกับกลุ่มความรู้เดิม (Pre-existing Knowledge)
4. ทฤษฎีความยืดหยุ่นทางปัญญา (Cognitive Flexibility Theory)
เพื่อตอบสนองโครงสร้างขององค์กรความรู้ที่แตกต่างกัน
........................................................................
.
หน่วยเรียนรู้ที่ 3
บทบาทของคอมพิวเตอร์ในการสอน
1. การใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อทบทวนบทเรียน (Tutor) บางรายวิชาเราสามารถใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการทบทวนบทเรียนได้ในโปรแกรมทบทวนบทเรียนคอมพิวเตอร์จะเสนอสิ่งเร้า อาจจะเป็นข้อความ คำถาม รูปภาพหรือกราฟิก และอื่นๆ ที่เร้าให้ผู้เรียนตอบสนองและมีการประเมินผล
2. การใช้เป็นเครื่องมือ (Tool) คอมพิวเตอร์จะเข้ามามีบทบาทในฐานะที่เป็นเครื่องมือในการเรียนได้ เช่น ใช้ในการคำนวณ การประมวลผลข้อมูล การวิเคราะห์ทางสถิติ และการสร้างกราฟจากข้อมูล เป็นต้น
3. ใช้เป็นเครื่องฝึก (Tutee) การใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องฝึกจะทำให้ครูและผู้เรียนได้เรียนรู้และมีประสบการณ์ในการใช้คอมพิวเตอร์ รวมทั้งได้เรียนรู้ถึงการสร้างโปรแกรมหรือการประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง
.
แนวทางการพัฒนาคอมพิวเตอร์ในการสอน
หมายถึง คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนเท่านั้น ซึ่งความคิดนี้ไม่ถูกต้อง การที่คนทั้งหลายคิดเช่นนี้ อาจเป็นเพราะสาเหตุสำคัญ 2 ประการ คือ
1. การขาดการรู้หรือความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และด้วยความเชื่อว่า คอมพิวเตอร์จะเข้ามามีบทบาทในสังคมและให้ข้อมูลสารสนเทศทุกอย่างได้
2. เพราะคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนได้ถูกพัฒนาให้สามารถสอนบางเนื้อหาของรายวิชาที่สามารถตอบสนองต่อจุดประสงค์ของเนื้อหานั้นๆ ได้ดี
.
ความสำคัญของครูต่อคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอน
ฮาร์ดเล่ย์ (Hartley. 1980 : 130) ได้กล่าวถึงการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนคอมพิวเตอร์และครู ดังนี้ "ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนแบบทบทวนที่ใช้คำถามเป็นสิ่งเร้าผู้เรียน จะต้องปฏิบัติ กิจกรรมการเรียนการสอนด้วยการที่คอมพิวเตอร์เสนอคำถามผ่านทางจอภาพและให้ผู้เรียน ตอบสนองผ่านทางแป้นพิมพ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์จะประเมินการตอบสนองของผู้เรียนให้ผลย้อนกลับแก่ผู้เรียนและนำข้อมูลการตอบสนองของผู้เรียนได้จากข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนเก็บไว้ ในแผ่นดิสก์ จากนั้นก็จะพิจารณาเนื้อหาต่างๆ ที่ผู้เรียนได้เรียนไปแล้วว่า แต่ละหัวข้อเนื้อหามีความยากง่ายเหมาะสมดีหรือไม่
.
รูปแบบของคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอน
การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนอาจมีหลายวิธี ทั้งนี้อาจขึ้นอยู่กับรูปแบบและประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอน ซึ่งคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนมีอยู่หลายรูปแบบที่สำคัญ ได้แก่
1. แบบบทเรียนโปรแกรม (Programmed-Instruction Based CAI)
2. แบบปัญญาประดิษฐ์ (Artifical-Intelligent-Based)
3. แบบสถานการณ์จำลอง (Simulation-Oriented CAI)
4. แบบใช้เป็นเครื่องมือ (Tool Applications)
.
คุณลักษณะของคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอน
1. อัตราเร็วในการเรียนรู้ของแต่ละคน โดยทั่วไปจะทำได้ 2 วิธี ดังนี้
1.1 การควบคุมความเร็วในการเรียนโดยผู้เรียนกำหนด
1.2 คอมพิวเตอร์จัดอัตราเร็วการเรียนตามตอบสนองของผู้เรียน
ประเภทของผู้เรียน
ผู้เรียนที่มีความสามารถสูงจะมีการเรียนรู้ได้เร็วกว่าปกติ จำเป็นต้องมีการดูแลและติดตามโดยจะต้องจัดการสอนให้เป็นพิเศษ เพื่อตอบสนองต่อความสามารถในการเรียน ส่วนผู้เรียนที่มีความสามารถในการเรียนต่ำก็จะได้รับการเอาใจใส่ แต่บางครั้งอาจจะต้องมีการปรับหลักสูตรให้สอดคล้องกับผู้เรียนเป็นสิ่งที่จะนำเสนอให้แก่ผู้เรียนตามลำดับหัวข้อเนื้อหาทีละเล็กทีละน้อยตามพฤติกรรมของผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุตามจุดประสงค์
.
คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนในประเทศไทย
ครรชิต มาลัยวงศ์ (2534 : 8) กล่าวว่า ความเคลื่อนไหวในการนำคอมพิวเตอร์ มาใชéช่วยการเรียนการสอนนั้น เป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจมากในหมู่ครูอาจารย์และนักคอมพิวเตอร์ หลายกลุ่ม การเป็นเช่นนี้ นับว่าเป็นไปตามธรรมชาติเพราะขณะนี้ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีราคาถูกกว่าเมื่อหลายปีก่อน ความสามารถทางด้านกราฟิก และเสียงก็ดีกว่า โปรแกรมต่างๆ มีผู้ผลิตขึ้นจำหน่วย มีคุณลักษณะที่เด่นมากขึ้น อำนวยให้แนวคิดในการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอน ชัดเจนขึ้น และจะทำจริงในเชิงปฏิบัติ
...................................................................................
.
หน่วยเรียนรู้ที่ 4
เวิร์ดโปรเซสเซอร์
โปรเซสเซอร์ เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่มีใช้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกขนาด แต่สำหรับไมโครคอมพิวเตอร์แล้วการใช้เวิร์ดโปรเซสเซอร์เป็นที่นิยมแพร่หลายมากในกรณีนี้ เราสามารถจำแนกไมโครคอมพิวเตอร์ได้เลย ว่ามีอยู่ 2 ประเภท คือ
1) แบบที่ใช้งานกับโปรแกรมเวิร์ดโปรเซสเซอร์เพียงอย่างเดียว
2) แบบที่ใช้งานได้กับทั้งเวิร์ดโปรเซสเซอร์และโปรแกรมทั่วไป
.
การทำงานของเวิร์ดโปรเซสเซอร์
หน้าที่สำคัญของเวิร์ดโปรเซสเซอร์มี 2 ประการ คือ แก้ไขเอกสาร (Editing)และจัดรูปแบบเอกสาร(Formatting)
.
โปรแกรมเวิร์ดโปรเซสเซอร์เพื่อการศึกษา
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเภทเวิร์ดโปรเซสเซอร์ที่ได้รับความนิยมมากและเป็นต้นแบบของโปรแกรมเวิร์ดโปรเซสเซอร์ทั้งหลายในปัจจุบัน คือ โปรแกรมไมโครซอร์ฟเวิร์ด เป็นโปรแกรมเวิร์ดโปรเซสเซอร์ที่มีลักษณะการทำงานที่สมบูรณ์แบบ จนเป็นที่ยอมรับในวงการธุรกิจ และยอมรับว่าเป็น "มาตรฐานอุตสาหกรรม"ระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS) เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่จัดระบบการทำงานของส่วนต่าง ๆ ในคอมพิวเตอร์
.
การจัดการสารสนเทศในชั้นเรียน
โดยทั่วไปแล้ว การใช้คอมพิวเตอร์จะเน้นในเรื่องของการจัดการสารสนเทศ ซึ่งในบทนี้อาจกล่าวได้ว่าได้เน้นถึงการจัดการสารสนเทศประเภทเอกสาร และจะรวมไปถึงการใช้สารสนเทศ เพื่อการติดต่อสื่อสารเป็นรายบุคคล
.
การติดต่อสื่อสารของชั้นเรียนในอนาคต
จากการสังเกตพัฒนาการทางเครื่องมือและเทคโนโลยีที่มีอยู่ในชั้นเรียน จะพบว่ามีส่วนที่พัฒนาไปตามเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ใช้ในวงการธุรกิจ หรืออาจเป็นเพราะระบบธุรกิจมีส่วนผลักดันให้เป็นเช่นนั้นก็ได้ ในขณะที่ปัจจุบันการสื่อสารด้วยเอกสารในวงการธุรกิจเริ่มเปลี่ยนรูปแบบไปเป็นสิ่งที่เรียกว่า ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) ซึ่งเป็นระบบการติดต่อสื่อสารเพื่อส่งผ่านเอกสารทางสายโทรศัพท์ระหว่างสำนักงานที่มีพื้นที่ติดกันหรือจะอยู่ห่างกันก็ได้ ข้อความที่สำนักงานฝ่ายต้นทางส่งไป จะปรากฏบนจอภาพหรือพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์คอมพิวเตอร์ที่สำนักงานฝ่ายรับเอกสาร โดยการติดต่อสื่อสารด้วยวิธีนี้จำเป็นจะต้องใช้เทอร์มินอลของคอมพิวเตอร์ หรืออาจใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ก็ได้
....................................................................
.
หน่วยเรียนรู้ที่5
การรู้คอมพิวเตอร์
สาระสำคัญของการรู้คอมพิวเตอร์ที่ผู้ศึกษา ความรู้ 4 ประการ คือ
1. ควรมีความรู้ความเข้าใจ เบื้องต้นเกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์
2. ควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและการประยุกต์ก็ใช้คอมพิวเตอร์ให้เกิดประโยชน์
3. ควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดทั่วไปของคอมพิวเตอร์ว่าเป็นระบบ อย่างหนึ่ง
4. ควรมีเจตคติทางบวก และปราศจากอคติต่อคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
ความหมายของการรู้คอมพิวเตอร์
"การรู้คอมพิวเตอร์" หมายถึง การที่บุคคลมีความรู้ความเข้าใจคุณสมบัติระบบ และการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ให้เกิดประโยชน์กับงานของตน" จากความหมายของ "การรู้คอมพิวเตอร์" จะทราบว่าความรู้ ทักษะ และเจตคติเกี่ยวกับการรู้คอมพิวเตอร์ของบุคคล จำแนกออกได้เป็น 4 เรื่องสำคัญ ได้แก่
1) ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer Systems)
2) การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer Applications)
3) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Computer Programming)
4) เจตคติต่อคอมพิวเตอร์ (Computer Attitude)
.
การสอนคอมพิวเตอร์ในโรงเรียนในต่างประเทศ
การสอนคอมพิวเตอร์แก่ผู้เรียนก่อนที่จะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอนนั้นเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา การสอนคอมพิวเตอร์อาจเริ่มจากระดับง่ายๆ ตั้งแต่การรู้จักใช้แป้นพิมพ์ (Keyboards) ไปจนถึงระดับการเขียนโปรแกรมขั้นสูงหัวข้อการเรียนในรายวิชาการรู้คอมพิวเตอร์ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ที่ผู้เรียนทุกคนต้องเรียนนั้น จะประกอบไปด้วย
หน่วยที่ 1 ประวัติคอมพิวเตอร์ หน่วยที่ 2 ภาษาคอมพิวเตอร์(Languages)
หน่วยที่ 3 การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์(Computer Appli cation)
หน่วยที่ 4 Term,Word, and Acronyms
หน่วยที่ 5 ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System)
หน่วยที่ 6 Flowshart and Algorithm
.
การเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ในประเทศไทย
คอมพิวเตอร์พื้นฐานในโรงเรียนประถมศึกษาตามนโยบายปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติได้จัดสรรงบประมาณจัดซื้อวัสดุครุภัณฑ์เครื่องคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย ประจำห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ให้กับโรงเรียนปฏิรูปการศึกษา ระดับประถมศึกษาแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ โรงเรียนปฏิรูปการศึกษาที่เป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ปีงบประมาณ 2539 ได้รับจำนวน 3 เครื่อง และโรงเรียนปฏิรูปการศึกษา ปีงบประมาณ 2540 ได้รับจำนวน 6 เครื่อง ในลักษณะต่อพ่วงในระบบ LAN (Local Area Network) ซึ่งมีขนาดและประเภท ดังนี้
แบบที่ 1 ห้องขนาด 10 ที่นั่ง (คอมพิวเตอร์ 6 เครื่อง)
แบบที่ 2 คอมพิวเตอร์โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา (คอมพิวเตอร์ 3 เครื่อง)
แบบที่ 1 และ 2 ประกอบด้วยครุภัณฑ์ดังนี้1. ชุดควบคุมการสอน
1.1 เครื่องควบคุมรายการ (Master Control)
1.2 เครื่องคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย (Multimedia Computer) โต๊ะวางเครื่องควบคุมรายการ และเครื่องคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียพร้อมเก้าอี้ 1 ชุด
2. ชุมคอมพิวเตอร์ของผู้เรียน
2.1 เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับผู้เรียน (Client Computer) 5 เครื่อง
2.2 โต๊ะวางคอมพิวเตอร์พร้อมเก้าอี้ (โต๊ะ 1 ตัว เก้าอี้ 2 ตัว ) 5 ชุด
3. เครื่องพิมพ์ประจำห้องเรียน (Room Printer)
3.1 เครื่องพิมพ์ (Printer) ความเร็วไม่ต่ำกว่า 300 ตัวอักษร/นาที
3.2 โต๊ะวางเครื่องพิมพ์จำนวน 1 ตัว4. สายสัญญาณ พร้อมติดตั้ง 1 ชุด
................................................................................
.
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6
การวัดประเมินผลคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา
ในการประเมินบทเรียน มีขั้นตอนในการพิจารณาอยู่ 3 ขั้น คือ
1. การประยุกต์ใช้
2. การใช้โปรแกรม
3. ราคา
.
แนวการประเมินบทเรียน
1. กิจกรรมการประเมินบทเรียน
1.1 การคัดเลือก ผู้ประเมินจะเป็นผู้คัดเลือกบทเรียนโดยใช้เกณฑ์ว่า
1) บทเรียนนั้นควรจะมีศักยภาพต่อการประยุกต์ใช้ในห้องเรียน
2) ยังไม่ได้รับการประเมินมาก่อน
3) ไม่พบว่า ไม่เคยผ่านเกณฑ์การประเมิน (ประเมินไม่ผ่าน)
4) มีลักษณะที่เป็นบทเรียนที่มีคุณภาพสูง
1.2 การทดลองใช้ หลังจากคัดเลือกบทเรียนได้แล้ว ผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อย 3 คน จะศึกษาทบทวนและทดลองใช้บทเรียนในห้องเรียน (สภาพจริง) โดยผู้เชี่ยวชาญจะใช้แบบประเมินแบบเดียวกันทั้งหมดเพื่อให้ง่ายต่อการสรุปผล ซึ่งโดยทั่วไปใช้แบบประเมิน 5 แบบ
1.3 การสังเคราะห์และการสรุปผลการประเมิน ถ้าพบข้อแตกต่างของการประเมินผู้ประเมินจะอภิปรายในส่วนที่เป็นปัญหาขัดแย้งเมื่อหาข้อสรุปได้แล้ว ก็เตรียมสรุปการประเมินการสรุปการประเมินจะใช้แบบประเมิน
2. แบบประเมินบทเรียน
2.1 คำอธิบายบทเรียนและสรุป เป็นแบบประเมินข้อมูลโดยทั่วไปของบทเรียน ซึ่งประกอบด้วย ชื่อโปรแกรม ผู้ผลิต และราคาของโปรแกรมส่วนเกณฑ์การให้คะแนนจะจำแนกออกเป็น 4 ด้าน คือ ด้านเนื้อหา ด้านการออกแบบการสอน ด้านการบันทึกและการเรียกใช้และด้านความง่ายต่อการใช้ เกณฑ์การประเมินใช้แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ คือดีที่สุด (Superior) ถึงใช้ไม่ได้ (Poor)
2.2 เนื้อหา มีรายละเอียดดังนี้
1) จุดมุ่งหมายสมบูรณ์และชัดเจน
2) การกำหนดกลุ่มผู้เรียน
3) กิจกรรมเสริมภายนอก เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
4) กำหนดทักษะ CAI เบื้องต้นชัดเจน
5) การเสนอนเอหามีลำดับ และชัดเจน
6) มีบทสรุปเนื้อหาและสามารถถ่ายโอนการเรียนรู้ได้
7) เนื้อหาสอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย
8) คำศัพท์ที่ใช้เหมาะสมกับระดับเนื้อหาวิชาและระดับผู้เรียน
2.3 การออกแบบการสอน เป็นแบบประเมินการออกแบบการสอนในบทเรียน ซึ่งเน้นในเรื่องการนำเสนอเนื้อหาความรู้แก่ผู้เรียน เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย
1) การควบคุมลำดับและอัตราเร็วในการเรียน
2) สามารถใช้โปรแกรมได้อย่างอิสระ
3) ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนอย่างเหมาะสม
4) มีรูปแบบการเสนอเนื้อหาและการตอบสนองหลายรูปแบบ
5) การลดความจำเป็นในการพิมพ์
6) โปรแกรมสามารถรับการตอบสนองของผู้เรียนได้กว้างขวาง
7) สภาพบทเรียนใหม่สัมพันธ์กับบทเรียนเก่า
8) มีการทบทวนสรุปและเน้นมโนทัศน์สำคัญ
9) สามารถดัดแปลงโปรแกรมตามความต้องการของผู้ใช้ได้
10) กราฟิก สี และเสียงมีความเหมาะสม
11) มีการให้ข้อมูลย้อนกลับอย่างเหมาะสมและเป็นประโยชน์
12) ลักษณะการเรียนควรให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ
13) ผู้เรียนควรได้รู้ความคาดหวังของโปรแกรมจากบทเรียน
14) อัตราเร็วการนำเสนอเนื้อหามีความสม่ำเสมอ
15) การแสดงชัดเจนเข้าใจง่ายและมีประสิทธิภาพ
2.4 การเก็บบันทึกข้อมูลและการจัดการ แบบประเมินนี้มีเกณฑ์ในการพิจารณาความสามารถของโปรแกรมดังนี้
1) สามารถเก็บผลการตอบสนองของผู้เรียนได้อย่างถูกต้อง
2) สามารถเก็บข้อมูลความก้าวหน้าทางการเรียนได้อย่างถูกต้อง
3) มีส่วนที่เป็นการวินิจฉัยและหรือประเมินทดสอบผู้เรียนได้
4) สามารถให้งานพิเศษเพิ่มเติมแก่ผู้เรียน
5) สามารถเสนอผลความก้าวหน้าผู้เรียนเป็นรายบุคคลและทั้งชั้นได้
6) สามารถแสดงความก้าวหน้าของผู้เรียนได้ทั้งทางหน้าจอและการพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์
2.5 ความง่ายต่อการใช้ ความง่ายต่อการใช้ในห้องเรียนของบทเรียนเป็นเรื่องหนึ่งที่ผู้ประเมินโปรแกรมคอมพิวเตอร์ควรพิจารณา ข้อพิจารณาต่อไปนี้เป็นเกณฑ์การประเมินตามแบบ
1) สื่อที่ใช้ร่วมกับบทเรียนเข้าใจง่ายและมีประสิทธิผล
2) สามารถใช้โปรแกรมได้ตามปกติ
3) มีไฟล์ "HELP" สำหรับใช้ความช่วยเหลือในกรณีขัดข้อง
4) สามารถออกจากโปรแกรมโดยผู้เรียนหรือโดยอัตโนมัติ
2.6 จุดอ่อนและจุดเด่นของบทเรียน การประเมินบทเรียนในส่วนนี้ ผู้ประเมินต้องกรอกเกี่ยวกับข้อดีและข้อจำกัดต่างๆ ของโปรแกรมลงในแบบประเมินด้วยตนเอง
2.7 ความเที่ยงตรง (Validation)หมายถึงประสิทธิภาพหรือมาตรฐานของบทเรียนซึ่งบทเรียนควรได้รับการทดลองใช้ในภาคสนามมาแล้วหรือผ่านการทดลองใช้ในลักษณะการวิจัย พัฒนามาจนเป็นที่เชื่อมั่นได้ด้วย
.
การประเมินบทเรียนและสภาพการนำไปใช้
"ความสำเร็จของ CAI จะขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพ ที่เกิดขึ้นจากากรใช้บทเรียนนั้น เมื่อผู้เรียนเรียนจาก CAI ผู้เรียนควรได้เกิดจากการเรียนรู้แบบรอบรู้ เป็นการเรียน ด้านวิชาการโดยแท้ เป็นการสดนแบบโดยตรง (Direct Instruction)บรรยากาศในการเรียนดี เป็นการคาดได้ว่า ผู้เรียนได้รับทักษะตามที่คาดหวัง และผู้เรียนมีโอกาสมีส่วนร่วม หรือลงมือปฏิบัติในการเรียนระดับสูง"

ไม่มีความคิดเห็น:

Game provided by: MyGlitterRomance.com